จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

น้ำกระเจี๊ยบเขียว ดื่มทุกวัน ช่วยลดเบาหวาน คอเลสเตอรอล และโรคไต ให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์!



กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในหลายประเทศจะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อว่า กระเจี๊ยบเขียว (Okra) ซึ่งในสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย และในชาวแคริบเบียน จะเรียกกันเช่นนี้
พืชยอดเยี่ยมนี้อุดมไปด้วยสารอาหาร เพราะกระเจี๊ยบสดหนึ่งแก้วมีโปรตีน 2 กรัม มีวิตามิน C 21 มิลลิกรัม มีกรดโฟลิก 30 แคลอรี่ มีโฟเลต 80 ไมโครกรัม มีแมกนีเซียม 60 มิลลิกรัม มีไฟเบอร์ 3 กรัม มีไขมัน 0.1 กรัม
และมีคาร์โบไฮเดรต 7.6 กรัม พืชชนิดนี้สามารถนำมาใช้บริโภคได้ตลอดทั้งปีในรูปแบบต่างๆ เช่น ทอด ต้ม ตุ๋น หรือดอง
สมุนไพรกระเจี๊ยบเขียว ยังมีชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
และสำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุดส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
2. ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
3. ช่วยลดระดับน้ำตาลโดยผ่านการบริโภคโดยตรง
4. บรรเทาอาการโรคหอบหืด
5. ป้องกันการเกิดโรคไต

สูตรน้ำกระเจี๊ยบ

จะช่วยให้เกิดความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างเป็นธรรมชาติ

ส่วนผสม

1. กระเจี๊ยบเขียวสด 4 ฝัก
2. น้ำเปล่า 1 ถ้วย

สูตรน้ำกระเจี๊ยบ

1. ใช้มีดตัดด้านข้างของฝักกระเจี๊ยบออก
2. ใส่ฝักกระเจี๊ยบลงในขวดขนาดใหญ่และเทน้ำลงไปให้ท่วม
3. แช่ฝักกระเจี๊ยบทิ้งไว้ตลอดคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (ไม่เกิน 24 ชั่วโมง)
4. ในตอนเช้าให้บีบน้ำในฝักกระเจี๊ยบออกให้หมดและเก็บน้ำไว้
5. โยนฝักของมันทิ้งไปและดื่มน้ำทันที

วิธีใช้

คุณควรดื่มเครื่องดื่มนี้ในขณะท้องว่าง ก่อนมื้อเช้า 30 นาที มันจะให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วจนทำให้คุณประหลาดใจ

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว

1. ฝักอ่อนหรือผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มรับประทาน โดยนำมาต้มให้สุกหรือย่างไฟก่อน หรือนำมาใช้ทำแกงต่าง ๆ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ใช้ใส่ในยำต่าง ๆ ใช้ชุบแป้งทอด ทำเป็นสลัดหรือซุปก็ได้
2. เมนูกระเจี๊ยบเขียว เช่น แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้ แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่ ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบผัดขิงอ่อน ห่อหมกกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบต้มกะทิปลาสลิด ยำกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด สลัดกระเจี๊ยบเขียว ชากระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
3. สำหรับชาวอียิปต์มักใช้ผลกระเจี๊ยบรับประทานร่วมกับเนื้อสัตว์ หรือนำมาใช้ในการปรุงสตูว์เนื้อน้ำข้น สตูว์ผัก หรือนำไปดอง ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้จะใช้ผลอ่อนนำมาต้มเป็นสตูว์กับมะเขือเทศที่เรียกว่า “กัมโบ้” หรือทางตอนใต้ของอินเดียจะนำผลกระเจี๊ยบมาผัดหรือใส่ในซอสข้น ส่วนชาวฟิลิปปินส์จะใช้กินเป็นผักสดและนำมาย่างกิน และชาวญี่ปุ่นจะนำมาชุบแป้งทอดกินกับซีอิ้ว
4. ดอกอ่อนและตาดอกสามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน
5. รากกระเจี๊ยบสามารถนำมารับประทานได้ แต่จะค่อนข้างเหนียวและไม่เป็นที่นิยม
6. แป้งจากเมล็ดแก่เมื่อนำมาบดสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมปังหรือทำเป็นเต้าหู้ได้
7. ใบตากแห้งนำมาป่นเป็นผงใช้โรยอาหารและช่วยชูรสชาติอาหารได้
8. ฝักที่นำมาตากแห้งแล้ว สามารถนำมาใช้ทำเป็นชาไว้ชงดื่มได้
9. เมล็ดกระเจี๊ยบนำมาคั่วแล้วบดสามารถนำมาใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ หรือนำใช้ในการแต่งกลิ่นกาแฟ
10. ใบกระเจี๊ยบนำมาใช้เป็นอาหารวัวหรือใช้เลี้ยงวัวได้
11. กากเมล็ดมีโปรตีนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
12. ในประเทศอินเดียมีการใช้เมล็ดกระเจี๊ยบเพื่อไล่ผีเสื้อเจาะผ้า
13. ในประเทศอินเดีย โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งมีการใช้เมือกจากต้นนำมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
14. เปลือกต้นกระเจี๊ยบ แม้จะไม่เหนียวนักแต่ก็สามารถนำมาใช้ทอกระสอบ ทำเชือก เชือกตกปลา ตาข่ายดักสัตว์ ใช้ถักทอเป็นผ้าได้ หรือทำเป็นกระดาษ ลังกระดาษก็ได้
15. เมือกจากผลกระเจี๊ยบสามารถนำมาใช้เคลือบกระดาษให้มันได้
16. กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย เนื่องจากต่างประเทศมีการสั่งซื้อกระเจี๊ยบของไทยปีละหลายล้านบาท โดยมีบริษัทที่ทำโครงการปลูกกระเจี๊ยบเขียวอย่างครบวงจรมาร่วมมือกับเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ช่วยกันปลูกเพื่อส่งออก
17. สำหรับในต่างประเทศมีการนำกระเจี๊ยบเขียวไปผลิตแปรรูปได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทำเป็นอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูป เช่น กระเจี๊ยบเขียวอบแห้ง หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องหอม อุตสาหกรรมยา เช่น ทำเป็นยาผงและแคปซูล
สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น